หน้าที่และความรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของฝ่าย, กลุ่มงาน และหน่วยฯ
ฝ่ายบริหารทั่วไป
งานติดต่อประสานงาน งานสารบรรณ และงานธุรการทั่วไป ตลอดจนดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำและรวบรวมแผนงาน จัดทำคำขอตั้งงบประมาณ ติดตาม เร่งรัดและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการต่าง ๆ รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูลด้านสหกรณ์ ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี วัสดุครุภัณฑ์ งานด้านการบริหารงานบุคคล
กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อให้คำแนะนำแก่คณะผู้จัดตั้งเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ตรวจสอบและเสนอความเห็น และคำปรึกษาในด้านการกำหนดข้อบังคับสหกรณ์ ศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสหกรณ์ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ให้รวมถึง การควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ การจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ด้วย ทั้งนี้ ให้รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่นเดียวกัน โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่น ามาวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ค่าใช้จ่ายและข้อมูลด้านบุคคลอื่น ๆ ของกลุ่มบุคคลที่ประสงค์จะขอจัดตั้งนั้น หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์จะดำเนินการรวบรวมให้
2. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพและกลุ่มลักษณะอื่น ว่าเมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา และสามารถดำเนินการบริหารกลุ่มไปได้ด้วยดีเพียงใด เพราะกลุ่มที่ตั้งขึ้นมานั้นจะต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ฉะนั้น จะต้องทำการศึกษาวิเคราะห์กำหนดแนวทางเพื่อให้กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามผลการดำเนินงานภายหลังการจัดตั้ง
3. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นที่จัดตั้งขึ้นมาว่ามีปัญหาในการด าเนินงานอย่างไร และหากพบปัญหาจะต้องเข้าไปทำการช่วยเหลือหรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือ เช่น ในกรณีที่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร มีปัญหาในด้านการตลาดก็ต้องประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ให้เข้าไปท าการช่วยเหลือหรือถ้ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการ บริหารการจัดการก็ต้องประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ให้เข้าไปทำการช่วยเหลือ หรือประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เป็นต้น
4. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการอื่นๆ
5. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดตั้งและการส่งเสริมให้กับหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ จากการที่กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ แล้ว และให้หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ไปดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์หรือกลุ่มตามขั้นตอนและวิธีการ ซึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งนั้น ถ้ามีปัญหาในการดำเนินงานเกิดขึ้นหรือเมื่อจัดตั้งแล้วและมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริม กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ จะต้องให้คำปรึกษาแนะนำในการแก้ปัญหาเหล่านั้นกับหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
6. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่สหกรณ์ พร้อมกับติดตามการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ข้อบังคับระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบกิจการและภาวะการเงินของสหกรณ์รวบรวมประเมินผลการรายงานของผู้ตรวจการสหกรณ์ วินิจฉัยสั่งการให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามที่ผู้ตรวจการสหกรณ์ หรือผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจพบภายในเวลาที่กำหนด ติดตาม ตรวจสอบความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อบกพร่องในสหกรณ์ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ข้าราชการในหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์เพื่อการแก้ไขปัญหา และการรายงานในระดับจังหวัดกับกรมฯประสานกับกลุ่มในจังหวัดในแต่ละกรณี และสำนักจัดตั้งและส่งเสริม สหกรณ์ในส่วนกลางเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวให้รวมถึงกลุ่มเกษตรกรด้วย
7. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพและกลุ่มลักษณะอื่น ในระดับเพิ่มรายได้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง การคัดเลือกเพื่อรับการสนับสนุนจากภาครัฐการพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้และเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้
8. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์และพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ นำไปปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับ
1. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการผลิตในระดับธุรกิจให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกของกลุ่ม โดยในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินการใด ๆ ของกลุ่มนั้น ถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้น จะต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย
2. ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์และรูปแบบการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เพราะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ผลิตขึ้นมานอกจากจะต้องมีตลาดมารองรับแล้วปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือรูปแบบการบรรจุผลิตภัณฑ์หรือหีบห่อก็มีความสำคัญเช่นกันเพราะถ้าผลิตภัณฑ์มีรูปแบบการบรรจุที่สวยงามย่อมเป็นที่ต้องการของตลาด จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้นจากปกติได้ทางหนึ่ง ฉะนั้น จึงต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ ผลิตสินค้าหรือผลผลิตให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาเรื่องการบรรจุหีบห่อให้ได้มาตรฐานและต่อเนื่อง
3. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาดและส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นรวมทั้งหาลู่ทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยท าการรวบรวมวิเคราะห์ สำรวจข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดและธุรกิจของสหกรณ์ และกลุ่ม ดำเนินการส ารวจปริมาณการผลิตของสมาชิกและความต้องการของตลาดเพื่อให้ปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและไม่ก่อให้เกิดสินค้าล้นตลาด นอกจากนั้นจะต้องส่งเสริมให้สหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ รู้จักการวางแผนในการผลิตให้พอดี ติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับด้านการตลาดและธุรกิจ เพื่อจะได้แจ้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และใช้ประกอบในการวางแผนการด าเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ การกระจายข่าวตามท้องถิ่นเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารได้รับรู้กันโดยทั่วไป สำหรับการส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์นั้น จะต้องส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจภายในสหกรณ์แลระหว่างสหกรณ์ ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายของสหกรณ์ให้ทราบโดยทั่วถึงกัน
4. ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแลรักษาและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยเป็นการประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบในการดูแล รักษา ซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง
5. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจสหกรณ์แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ เพราะจากการที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ได้กำหนดแนวทางต่าง ๆ ให้หน่วยส่งเสริมฯ นำไปปฏิบัติในการส่งเสริมแล้วในกรณีที่มีปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยส่งเสริมฯ เพื่อจะได้นำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ต่อไป 6. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์และพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ นำไปปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับ
1. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นมีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือสหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ ในการวางแผน จัดทำกลยุทธ์ จัดทำโครงการและกิจกรรมการผลิตในระดับที่เป็นธุรกิจได้ ให้คำแนะนำการดำเนินงานของสหกรณ์หรือกลุ่มให้สามารถดำเนินธุรกิจตามแผนได้อย่างครบวงจรและมีศักยภาพ สำหรับการบริหารงานบุคคลจะต้องแนะนำให้สหกรณ์และกลุ่ม จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์และกลุ่มช่วยเหลือ แนะนำในการกำหนดตัวบุคคล กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจ ระบบงานการบริหาร วิธีดำเนินการ รวมทั้งแนะนำให้มีการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆเพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดหาการลงทุน การบริหารเงินทุน และการประกอบธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ ถึงความเป็นไปได้ของโครงการที่สหกรณ์และกลุ่ม เสนอว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุนรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุน
3. ศึกษา วิเคราะห์ถึงความต้องการสนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น รวมทั้งการติดตามและประเมินผล ในกรณีที่ได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการแล้วว่าสหกรณ์และกลุ่ม มีโครงการจะลงทุนทำธุรกิจแต่มีปัญหาในเรื่องเงินทุนและสินเชื่อ ควรแนะนำแหล่งเงินทุนให้แก่สหกรณ์และกลุ่มนั้น ๆ
4. ดำเนินการติดตามประเมินผลการให้สินเชื่อ และเงินทุนที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรกลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ได้รับจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมทั้งเร่งรดการส่งชำระหนี้ เตือนหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระ
5. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการสหกรณ์แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ หลังจากที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้กับหน่วยส่งเสริมฯ ไปแล้วแต่มีปัญหาในการปฏิบัติงานเกิดขึ้น
6. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยสารสนเทศ
ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
1. จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด
2. จัดทำข้อมูลพื้นฐานของสหกรณ์ (Cooperative Profile)
3. จัดเก็บข้อมูลและประมวลผลเพื่อจัดเป็นระบบฐานข้อมูลของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย
4. ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย
5. ดูแลและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย
6. ส่งเสริม แนะนำและให้ความช่วยเหลือการทำเว็บไซต์แก่สถาบันเกษตรกรที่มีความพร้อม
7. แนะนำส่งเสริมสถาบันเกษตรกรนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจและการบริหารการจัดการของสถาบันเกษตรกร
8. แนะนำ ส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
9. ผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย
10. ปฏิบัติงานและดูแลงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ภายในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย
11. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยตรวจการสหกรณ์
ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
1. ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์
2. ตอบข้อร้องเรียนและขอความเป็นธรรมจากสมาชิกสหกรณ์ กรรมการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์
หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
ให้ข้าราชการในหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานในสำนักงานสหกรณ์อำเภอตามโครงสร้างเดิม โดยให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
1. การเผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป 2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3. ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การขอจัดตั้ง สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร แก่บุคคลผู้สนใจ รวมถึงการควบคุมสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ 4. ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และชุมนุมสหกรณ์ แก่คณะบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ และการให้ส่งเสริม สนับสนุน แนะนำสหกรณ์ในการดำเนินงานภายหลังการจัดตั้ง เพื่อความเข้มแข็งและความยั่งยืนของสหกรณ์ 5. ส่งเสริม แนะนำ เร่งรัด การดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนดต่าง ๆ คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ นโยบาย มติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ มติที่ประชุมของคณะกรรมการดำเนินการเพื่อการป้องปรามและป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้คำแนะนำให้สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ส่งสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ สำเนารายงานการประชุมใหญ่ให้ตรงตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้การแนะนำ ดูแล การดำเนินการของฝ่ายจัดการ และคณะกรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ หรือมติที่ประชุมใหญ่และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ตลอดจนคำสั่ง คำแนะนำ และระเบียบของนายทะเบียนสหกรณ์ เป็นต้น
6. ตรวจ แนะนำ วิธีการปฏิบัติงาน การบริหารงาน การเงินและการบัญชีแก่สหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานท าง ก า ร เงิ น แ ล ะ บั ญ ชี เพื่ อ เ ป็ น ก า ร ป้ องป ร า ม แ ล ะ ป้ อง กั น ก า ร ทุ จ ริ ต ที่ อ า จ จ ะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การตรวจแนะน าการเงินของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามกฎหมาย การแนะนำให้กรรมการสหกรณ์ได้ตรวจนับเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 7. จัดให้มีการประชุมเสวนาสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อรับทราบปัญหาและดำเนินการในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การสอบทานหนี้สิน การสอบทานหุ้น และเงินฝากของสมาชิก เป็นต้น
8. ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม การดำเนินการแก้ไขการทุจริต ข้อบกพร่องของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตามที่ผู้ตรวจการสหกรณ์ และผู้ตรวจสอบบัญชีของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์สั่งการ
9. ใ ห้ ก า ร ส่ง เ ส ริ ม แ ล ะพั ฒ น า ก ลุ่ ม เ กษ ต ร ก รใ ห้ เ ข้ม แ ข็ง ใ ห้ ก า รแนะนำ ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เพื่อการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานตามระบบสหกรณ์
10. ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม โดยถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย
11. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการของสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
12. ส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ให้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายของสหกรณ์ให้ทราบโดย ทั่วถึงกัน
13. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น มีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือในการวางแผนการจัดทำกลยุทธ์การจัดทำโครงการและกิจกรรมการผลิตในระดับที่เป็นธุรกิจได้อย่างครบวงจรและมีศักยภาพ
14. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจ ระบบงานการบริหาร วิธีการดำเนินการ รวมทั้งแนะนำให้มีการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
15. วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การสนับสนุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน อย่างไร โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบเกี่ยวกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุน รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ และกลุ่มต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุน
16. ติดตาม ประเมินผลการให้สินเชื่อแก่สหกรณ์ และเงินทุนที่สหกรณ์ได้รับจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เช่น เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พร้อมทั้งการเร่งรัดการส่งชำระหนี้ การเตือนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ
17. ให้การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ ให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น มีส่วนร่วมในการพัฒนา วางแผนงาน โครงการ สามารถดำเนินการและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
18. ให้คำแนะนำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อการวางแผน และการพัฒนางาน
19. ป ร ะ ส า นง า นให้ ค ว า ม ช่ ว ย เ ห ลื อ กับห น่ ว ยง า นที่เ กี่ ย ว ข้ องใ น ก า รดูแล รักษา ซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง
20. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงาน และโครงการต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
21. ประสานงานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ และกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ เพื่อรับมอบงาน ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ด้านวิชาการต่าง ๆ เพื่อน าข้อมูลและความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด ให้การส่งเสริม แนะนำ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น และเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงาน โดยมีภารกิจหลัก ๆ ที่ต้องประสานกับแต่ละกลุ่มงานดังนี้
21.1 ประสานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ในภารกิจงานเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์ ให้กับบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบเอกสารประกอบการขอจัดตั้ง และการดำเนินการในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มจัดตั้งฯ นำเสนอคำขอจดทะเบียนสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ ภายหลังนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนแล้วจะต้องให้การส่งเสริม แนะนำ เป็นที่ปรึกษาและประสานงานเพื่อการจัดองค์กร การจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและชุมนุมสหกรณ์ ภายใต้กรอบของกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ การดำเนินการดังกล่าวนี้ให้รวมถึงการตรวจสอบขั้นต้นในการจดทะเบียนสหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ การขอความเห็นชอบและกำหนดระเบียบเพื่อถือใช้ การควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ด้วย
21.2 ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ เพื่อรับและส่งมอบงานและข้อมูล หรือองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น รวมถึงการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์กับสหกรณ์ สหกรณ์กับภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้การส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือการดำเนินธุรกิจ ให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และก ลุ่ ม ลั ก ษ ณ ะ อื่ น โ ด ย ก ลุ่ ม ส่ง เ ส ริ ม แ ล ะพั ฒ น า ธุ ร กิ จ ส ห ก ร ณ์ จ ะ ทำ ห น้ า ที่ ค อ ยสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของหน่วยฯ โดยตลอด
21.3 ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ เพื่อรับและส่งมอบงานและข้อมูล หรือองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การควบคุมภายในโครงสร้างและการจัดระบบงานการจัดหา การลงทุนและการบริหารเงินทุนของสหกรณ์และกลุ่มเ ก ษ ต ร ก ร เ พื่ อ นำ ไ ป ป ฏิ บั ติ ห รื อ เ ป็ น แ น ว ท าง ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติง า น ใ ห้ ก า รส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือการบริหารจัดการองค์กร และการเงินของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรกลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์จะคอยสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะน า และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของหน่วยฯ โดยตลอด
22. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย
เลขที่ 106 ถนน เลย-ด่านซ้าย อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
โทรศัพท์. 0-428-11274 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย
Copy right All reserve 2023
รูปภาพ จากเว็บไซต์ Freepik.com , flaticon.com